วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.


            การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน การให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะช่วยทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก ทำให้ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
              การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม
 ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
              การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
      1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
      2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
      3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
      4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
      5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
    Linda  Bierstecker, 1992  ได้กล่าวไว้ ดังนี้
        1. เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีดูแลเด็กและการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
        2. เพื่อให้ผู้ปกครองและครูร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กร่วมกัน
        3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความต้องการของเด็กและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้าน ได้อย่างถูก
รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย



แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
      ฉันทนา  ภาคบงกช (2531) ได้เสนอแนวทางไว้ดังนี้
             1. สำรวจความสนใจ ความต้องการในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
             2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง 
แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
        1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
        2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
        3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง


ประเมินอาจารย์
               อาจารย์สอนตรงเวลา มีการยกตัวอย่างเนื้อหาให้ฟัง 
ประเมินเพื่อน 
               เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน มีเสียงดังบ้างเล็กน้อย
ประเมินตนเอง
              มัคุยกับเพื่อนบ้าง จดเนื้อหาตามที่อาจารย์สอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น