วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกตรั้งที่ 17
วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.

      ในวันนี้เป็นการเรียนคาบสุดท้ายอาจารย์ให้เอาใบปั้มมาเรียนมาส่งเพื่อนับคะแนนและให้รางวัลหลังจากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องโครงการและเนื้อหาการสอบ



การบันทึกครั้งที่ 16
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน
การบันทึกครั้งที่ 15
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้เอาเนื้อหาที่แก้คราวที่แล้วมาดูว่าถูกต้องรึยัง
       แล้วก็นำผลงานที่ทำขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างและนำไปสอนผู้ปกครองนำมาให้อาจารย์ดูว่าควรแก้อะไรรึป่าว

             การทำโครงการของกลุ่มดิฉันจะเป็นการทำโครงการโดยออกสำรวจตามบ้านต่างๆ โดยที่จะไปสำรวจคือ  หมู่บ้านพฤกษาวิลล์ 41/1 ต.บางกะดี อ.เมือง จ.ปทุมธานี
สิ่งที่ต้องแก้
*จานกระดานใบหน้าอารมณ์ อาจารย์แนะนำว่าควรทำหลากหลายสี และแม่เหล็กไม่ควรติดแบบกำหนดเกินไปควรติดทั้งแผ่นเพื่อให้ผู้ปกครองหรือลูกน้อยได้ตกแต่งตามจินตนาการเอง





ประเมินอาจารย์
             อาจารย์ให้คำปรึกษาตลอดไม่ว่าจะนอกหรือในเวลาเรียน
ประเมินเพื่อน
             ทุกกลุ่มมีงานเอามาให้อาจารย์ดู
ประเมินตนเอง
              ฟังเวลาอาจารย์แนะนำและนำไปแก้ไข



การบันทึกครั้งที่ 14
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.


ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้เอาโครงการมาดูเพื่อที่จะได้รู้ว่าควรจะปรับปรุงแก้ไขส่วนไหนบ้าง
       กิจกรรมที่อาจารย์เลือกมี 3กิจกรรม คือ
            1.นิทาน Pop Up
            2.จานกระดาษเปลี่ยนหน้า
            3.แกนกระดาษทิชู่เปลี่ยนอารมณ์




หลังจากปรึกษาอาจารย์เสร็จก็มานั่งคุยกันต่อว่าส่วนไหนควรปรับปรุง






ประเมินอาจารย์
                อาจารย์จะให้คำแนะนำตลอดว่าสิ่งไหนควรแก้ ผิดตรงไหน อะไรควรเพิ่ม
ประเมินเพื่อน 
              เพื่อนกลุ่มอื่นๆตั้งใจกันทำงานดี
ประเมินตนเอง
              มาช่วยเพื่อนคิดว่าจะแก้เป็นแบบไหน และจะเพิ่มเติมอะไรอีก
การบันทึกครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.


ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มเอาข้อมูลที่ไปประเมินผู้ปกครองมาสรุปและอาจารย์ขอตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกไปพูดถึงอุปสรรค์ที่เจอมา






หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนวิธีการรวมคะแนนใบประเมินผู้ปกครอง และมาดูว่าผู้ปกครองต้องการข้อไหนมากที่สุด และยังดูช่วงอายุ เพศ รายได้ และอาชีพว่าอะไรมากที่สุด



กลุ่มดิฉันสิ่งที่ผู้ปกครองเลือกมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ
1.ไม่หยิบของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
2.ร่าเริง แจ่มใส อารมณ์ดี
3.มีความรับผิดชอบ

ประเมินอาจารย์
                 อาจารย์คอยเดินดูตลอดว่าแต่ละกลุ่มมีปัญหาอะไรบ้าง
ประเมินเพื่อน
               เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงานกันอย่างเต็มที่
ประเมินตนเอง
               ช่วยเพื่อนในกลุ่มทำงาน



การบันทึกครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.

หยุดชดเชยวันปิยมหาราช
การบันทึกครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มไปทำแบบประเมินผู้ปกครองนอกสถานที่
การบันทึกครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่  10 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.


วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มคิดโครงการของกลุ่มตัวเอง


งานกลุ่ม


โดยโครงการนี้จะมีหัวข้อหลักๆคือ
ชื่อโครงการ
-หลักการและเหตุผล
-วัตถุประสงค์
-เนื้อหา
-เป้าหมาย 
     เป้าหมายเชิงปริมาณ
     เป้าหมายเชิงคุณภาพ
-วัน เวลาและสถานที่จัดโครงการ
-รูปแบบการจัดโครงการ
-แผนการดำเนินงาน
     การเตรียมงาน (P)
     การดำเนินงาน (D)
     การนิเทศติดตามผลงาน (C)
     การสรุปและประเมินผล (A)
-งบประมาณ
     ค่าตอบแทน
     ค่าใช้สอย
     ค่าวัสดุ
-ผลที่คาดว่าจะได้รับ
-การติดตามและประเมินโครงการ
-ผู้รับผิดชอบโครงการ

หลังจากนั้นอาจารย์ได้อธิบายวิธีการทำแบบสอบถามผู้ปกครอง


หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอโครงการ





ประเมินอาจารย์
            อาจารย์ให้คิดทำโครงการ รู้จักขั้นตอนของการทำโครงการ
ประเมินเพื่อน
           เพื่อนทุกกลุ่มตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินตนเอง
           ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มอย่างเต็มที่






การบันทึกครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.


ในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ล่ะกลุ่มนำเสนอวิจัยที่เกี่ยวกับผู้ปกครองมีทั้งหมด5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครองจังหวัดสารคารม
กลุ่มที่ 2 การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมให้ความรู้ผู้ปกครองไทยในการส่งเสริมทักษะทางการ  ออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ โรงเรียนนานาชาติเซนต์            แอนดรูส์สามัคคี
กลุ่มที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมเด็ก ปฐมวัย
กลุ่มที่ 4 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้รู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่
กลุ่มที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมเด็ก ปฐมวัย





ประเมินอาจารย์
           อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะในส่วนข้อมูลที่ขาดหายหรือข้อมูลที่ควรเพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน
          เวลาเพื่อนนำเสนอเพื่อนทุกคนตั้งใจฟัง
ประเมินตนเอง
          จดหัวข้อที่เพื่อนนำเสนอ และจดเนื้อหาบ้าง 
การบันทึกครั้งที่ 8
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.

*สอบกลางภาค*

การบันทึกครั้งที่ 7
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.


รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
      ข่าวสารประจำสัปดาห์
                       เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน




จดหมายข่าวและกิจกรรม
                     เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ



ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
                จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย



การสนทนา
          เป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น


รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา
      ห้องสมุดผู้ปกครอง → ที่เก็่บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ
      - ป้ายนิเทศ → ให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา
      - นิทรรศการ → ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษา
      - มุมผู้ปกครอง → จัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่าง การรอรับ-ส่งเด็ก 
      - การประชุม → เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้ผู้ปกครอง
      - จุลสาร → เป็ยสื่ิสิ่งพิมพ์ ใช้เผยแพร่ข้อมูลในทุกๆด้าน
      - คู่มือผู้ปกครอง → เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับสถานศึกษา
      - ระบบอินเทอร์เน็ต → การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน

หลังจาดนั้นอาจารย์ได้ให้ออกแบบใบข่าวสารประจำสัปดาห์





คำถามท้ายบท


1.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียนครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้างจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  1.ข่าวสารประจำสัปดาห์ เช่น แผ่นพับ ใบความรู้ ต่างๆ
         2.จดหมายข่าวและกิจกรรม เช่น ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก นิทาน  ศิลปะ
         3.ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง  ส่วนใหญ่อยู่ในห้องเรียน คือ ผลงานของเด็กทุกคนในห้องเรียน
         4.การสนทนา เป็นการให้ความรู้ผู้ปกครองที่ตรงและเข้าถึงที่สุด คือ พูดคุย แลกเปลียนความคิดเห็น

2.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  1.ห้องสมุดผู้ปกครอง เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารที่ทันต่อเหตุการณ์
          2.ป้ายนิเทศ ไม่เจาะห้องใดห้องหนึ่ง คือ ข่าวสาร การประชาสัมพันธ์
          3.นิทรรศการ เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้และเพื่อความบันเทิง
          4.มุมผู้ปกครอง จะไม่มีในห้องแต่จะอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของโรงเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองที่คอยรับ-ส่ง ลูกได้ทำกิจกรรมกันตามความเหมาะสม
          5.การประชุม  เพื่อ แถลงนโยบายการจัดการศึกษา ประสานงานทำความเข้าใจ แลกเปลียนทัศนคติ
          6.จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆด้าน
          7.คู่มือผู้ปกครอง จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ให้ผู้ปกครองได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา
          8.ระบบอินเทอร์เน็ต เว็บโรงเรียน ใช้เพื่อการเรียนการสอน สื่อสาร

3.นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
ตอบ  ต้องต้องแสดงให้ผู้ปกครองทราบก่อนว่าสิ่งให้นั้นคือความรู้จะมีผู้ปกครองบางคนที่ให้ความร่วมมือเราอาจจะให้ผู้ปกครองที่ให้ความร่วมมือเข้าไปช่วยพูดว่าโครงการที่เราจัดให้นั้นดี และเราก็ต้องเข้าไปพูดคุยกับผู้ปกครองว่ามีปัญหาอะไรรึป่าวถึงไม่ร่วมโครงการ

4.การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ สำคัญและจำเป็นมาก เพราะว่า เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองในเรื่องต่างๆ บางครั้งผู้ปกครองมีความรู้ในด้านนั้นไม่ท่องแท้เราก็สามารถไปบอกถึงข้อมูลที่แท้จริงให้ผู้ปกครองทราบแล้วเข้าใจได้อย่างถูกต้อง

5.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ  ผู้ปกครองรู้และเข้าถึงกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นและให้ความร่วมมือกับกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนการที่ผู้ปกครองไม่ร่วมมือนั้นอาจจะทำให้ผู้ปกครองขาดความเข้าใจที่ถูก



ประเมินอาจารย์
              อาจารย์สอนเนื้อหาละเอียด มีรูปตัวอย่างเอามาให้ดูทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
ประเมินเพื่อน
              เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจออกแบบใบข่าวสารประจำสัปดาห์
ประเมินตนเอง 
          ตั้งใจเรียน  ตั้งใจออกแบบงานที่อาจารย์สั่ง





การบันทึกครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.


ไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์ติดธุระ
การบันทึกครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.



โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
      1.โครงการ   แม่สอนลูก
         2.โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
         3.โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
         4.โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
         5.โครงการหนังสือเล่มแรก
         6.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว


โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
  1.โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
  2.โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)
       - โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี 
       - โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
  3.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
       - โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
       - โครงการเฮดสตาร์ท
       - โครงการโฮมสตาร์ท
       - โครงการสมาร์ท สตาร์ท
       - โครงการ Brooklyne Early Childhood
 4.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
       - โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์

       - โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
       - โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก”
 5.โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
 6.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ
      ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
7.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น
       เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก” และได้มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ
 

หลังจากนั้นอาจารย์ได้เปิด VDO  เรื่องหนังสือเล่มแรก (Bookstart)





คำถามท้ายบท
1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
  ตอบ  คือฝึกให้เด็กโตขึ้นเป็นเด็กรักการอ่าน ฝึกทักษะด้านต่างๆ พัฒนาการของลูกการเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ที่ดีและการรักษาในด้านต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวอีกด้วย
2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
  ตอบ  หาหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้เพื่อคุยและแก้ปัญหา และพยายามเสนอข่าวหรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการให้มากที่สุดเพื่อให้ประชนมารับรู้โครงการนี้ให้มากที่สุด
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ 
  ตอบ   1.เรื่องโรคที่พบในเด็ก เช่น โรคมือเท้าปาก  ปากอักเสบในเด็ก 
             2.เคล็ดลับพัฒนาลูกตามวัย เช่น  เด็กอายุ 3 ขวบสามารถเปล่งเสียงได้หรือไม่
             3.อารหารสำหรับลูกน้อย เช่น วิธีทำอาหาร ประโยชน์ของผักผลไม้
             4.สอนลูกอย่างไรให้ฉลาดทางอารมณ์ เช่น เมื่อลูกตื่นควรอุ้มขึ้นมาพูดเล่นทักทาย
             5.อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษสอนอย่างไร เช่น สอนผ่านกิจกรรม สอนผ่านการเล่น
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร   จงอธิบาย
  ตอบ    ส่งผล เมื่อผู้ปกครองรู้เนื้อหาที่แท้จริงและเป็นประโยชน์ผู้ปกครองก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้ 
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
   ตอบ    ขอเบอร์ผู้ปกครองและโทรไปถามผลที่ผู้ปกครองได้ลองทำ

ประเมินอาจารย์
              มีรูปแบบการสอนที่หลากหลายและใช้สื่อที่หลากหลายทำให้ได้ดูรูปแบบของสื่อต่างๆได้ง่าย
ประเมินเพื่อน 
            เพื่อนทุกคนตั้งใจดูวีดีโอที่อาจารย์เปิดให้ดู
ประเมินตนเอง 
           ตั้งใจเรียนก็บ้างครั้งก็มีหันไปคุยกับเพื่อนบ้าง
การบันทึกครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2559
เวลาเรียน 08.30 - 11.30 น.


การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ

5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบของการสื่อสาร
             รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล


             รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล 


             รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์

               รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์


              รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล

องค์ประกอบของการสื่อสาร
       1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
       2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
       3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
       4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
       5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
       1. เพื่อแจ้งให้ทราบ 
       2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา 
       3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง 
       4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม 
ประเภทของการสื่อสาร
      1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
      2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
      3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง


อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
     •ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
     •ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
     •ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
     •ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
     •เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
คุณธรรมในการสื่อสาร
คุณธรรม คือ
•ความดีงามที่มีอยู่ในตัวบุคคล
•ต้องประกอบด้วยเหตุผลที่ดีของแต่ละบุคคล
•เกิดจากการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
•เกิดจากการได้เห็น ได้ยิน ได้อ่าน
•เกิดจากการได้เห็นพฤติกรรมของคนที่เคารพรักเป็นแบบอย่าง
หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้เล่นเกมเกี่ยวกับการสื่อสาร

คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
 ตอบ การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
          ความสำคัญ    ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่ายและสร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
 ตอบ ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจวิธีการสอนของโรงเรียนและผู้ปกครองมีความเข้าใจที่ตรงกับโรงเรียนสามารถสอนลูกให้เข้าใจเนื้อหาที่โรงเรียนสอนมากขึ้น
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
  ตอบ รูปแบบการสื่อสารของลาส์เวล เป็นรูปแบบการสื่อสารที่เข้าใจได้ง่าย 
           ตัวอย่าง ลูกโทรหาพ่อเพื่อให้พ่อมารับ
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ    • ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
           • ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
           • ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
           • การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
 ตอบ   1.ความพร้อม
            2.ความต้องการ
            3.อารมณ์และการปรับตัว
            4.การจูงใจ
            5.การเสริมแรง
            6.ทัศนคติความสนใจ
            7.ความถนัด

ประเมินอาจารย์
          อาจารย์มีเกมมาให้เล่น เวลาสอนเนื้อหาอาจารย์จะยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจเนื้อหา
ประเมินเพื่อน
          เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนจะมีคุยเล่นกันบ้าง
ประเมินตนเอง
           คุยกับเพื่อนบ้าง ดูเนื้อหาตามและจดเพิ่มเติม